สัมภาษณ์พิเศษ : เบิร์ด – เอกชัย เจียรกุล หนุ่มไทยผู้ไปคว้ารางวัลที่ 1 จาก GFA การแข่งขันกีตาร์คลาสสิคระดับโลก






เบิร์ด – เอกชัย เจียรกุล อาจจะไม่ใช่ชื่อที่คุ้นกับคนฟังเพลงไทยโดยทั่วไป
แต่ถ้าเราบอกว่าผู้ชายวัย 27 คนนี้ คือคนไทยคนแรก ที่คว้ารางวัลอันดับที่ 1 จากการแข่งขัน GFA
หรือ Guitar foundation Of America ปี 2014 ซึงเป็นการแข่งขันกีตาร์คลาสสิคที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เด็กหนุ่มเมืองอุบลที่ดั้นด้นไปคว้าฝันไกลถึงต่างแดน ทำให้คนต่างชาติเห็นฝีมือของคนในวงการดนตรีคลาสสิคในไทยมากขึ้น
ณ งานนิทรรศการของเบิร์ดที่ Siam Center Atrium 1 ซึ่งจัดโดยแสงโสมผู้สนับสนุนหลัก
เบิร์ดปลีกตัวจากโต๊ะแจกลายเซ็น เดินมาพูดคุยเปิดใจเกี่ยวกับดนตรี เส้นทาง วิธีคิด และแรงบันดาลใจของเขากับเรา
เราถามตอบแบบนักดนตรีคุยกันซึ่งเรามั่นใจมากกว่าคงจากสื่ออื่นๆที่ถามกันในวันนั้น
ตอนที่เราถอดเสียงออกมาเป็นตัวอักษร
ถ้่าอ่านแบบคิดถึงเสียงเอาเองอาจจะรู้สึกว่า หลายๆคำพูดดูจะมีอีโก้ ความมั่นใจของเบิร์ดคงทำหลายคนหมั่นไส้
แต่ถ้าลบความคิดติดกรอบแบบไทยๆบางกลุ่ม ที่สร้างไว้ล้อมกรอบตัวเองไปก่อน คุณน่าจะเห็นแรงบันดาลใจที่เบิร์ดพยายามบอก
jetboat : เบิร์ดมองเห็นอะไรในเพลง “ชะตาชีวิต” ถึงได้กันมาหัดเล่นเพลงนี้ให้ได้
เบิร์ด เอกชัย : คือเพลงชะตาชีวิตตอนแรกคือเบิร์ดเล่นเนี่ยเป็นเวอร์ชั่นทรัมเป็ต คือเมื่อก่อนเป็นเด็กวงโยเป็นเด็กวงโย
แล้วพอได้ยินในเวอร์ชั่นกีตาร์คลาสสิค ก็เป็นอีกแบบนึง ก็เลยทำให้เป็นแรงบันดาลใจ
jetboat : ตอนนั้นที่ฟังนี่เป็นเวอร์ชั่นของใคร
เบิร์ด เอกชัย : เป็นของคุณ ฮัคกี้ แล่วเราก็ฟังมาจากคนอื่นเล่นด้วย คือ เออ..เพลงนี้เป็นเพลงที่เพราะ
เป็นเพลงของในหลวงของเรา เป็นเวอร์ชั่นที่เพราะมากเวอร์ชั่นนึง
jetboat : หลังจากฟังเพลงปุ๊บ นี่คือเดินไปบอกที่บ้านเลยหรือเปล่าว่าจะหันมาเล่นกีตาร์
เบิร์ด เอกชัย : ใช่..ก็อยากไปเรียนเลย ตอนนั้นรู้สึกว่ามันใช่
jetboat : แล้วคุณพ่อ คุณแม่ว่าอย่างไรว่าอย่างไรบ้าง ?
เบิร์ด เอกชัย : ก็ให้ไปเรียนเลย เหมือนไปเรียนยามาฮ่า ไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งแปลกใหม่เลย
แต่ว่าเรียนด้านดนตรีโดยตรงตอน ม.4 นี่เรื่องใหญ่ละ เพราะเราตัดสินชะตาตัวเองว่า ต้องเรียนด้านดนตรีโดยตรง
jetboat : เบิร์ดนี่เล่นกีตาร์มาตั้งแต่ ม. ไหนนะ
เบิร์ด เอกชัย : ม. 1ครับ
jetboat : อืม..เล่นกีตาร์มาตั้งแต่ ม.1 ก็ 3 ปีก่อนเรียนจริงจัง
แล้วจากวันแรกที่จับกีตาร์นี่ มองตัวเองว่าแค่อยากเล่นเฉยๆ หรือว่ามองไกลกว่านั้น
เบิร์ด เอกชัย : แค่อยากเล่นเฉยๆครับ ไม่ได้ต้องเป็นระดับโลก หรือแข่งขัน
jetboat : แสดงว่าคิดว่าอยากเล่นเพลงนั้นเพลงนี้ได้เฉยๆ
เบิร์ด เอกชัย :: ใช่
jetboat : แสดงว่ามาคิดจริงจังตอน ม.4
เบิร์ด เอกชัย : เบิร์ด เอกชัย : ใช่ครับ พอตอน ม.3 รู้ว่ามันชอบละ
คิดว่ามันจริงจังได้ ก็เลยตัดสินใจไปเรียนโดยตรง
jetboat : ตอน ม.4 เบิร์ดเรียนที่ไหนนะครับ
เบิร์ด เอกชัย : ที่ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
jetboat : แสดงว่าการเข้าเรียน ม.4 ที่นี่ทำให้ปักใจได้ว่า จะต้องไปให้สุดทางละ
เบิร์ด เอกชัย : ก็พอตัดสินใจว่าจะไปเรียนดนตรีโดยตรง ก็เหมือนกับเราเราตัดสินทางเลือกของเราแล้ว
jetboat : ค้นพบตัวเองเร็วเนอะ
เบิร์ด เอกชัย : (หัวเราะ) ถ้าเราเจอตัวเอง ก็ทำให้ประสบความสำเร็จเร็ว
jetboat : แล้วเข้ามาสู่แวดวงการแข่งประกวดตั้งแต่ตอนไหน
เบิร์ด เอกชัย : จริงๆแล้วเข้ามาเรียน 4 เดือนก็ลงแข่งเลย เหมือนๆ เล่นอยู่ แล้วอาจารย์ส่งแข่งยามาฮ่าอะไรแบบนี้ แต่ยังไม่จริงจังอะไร
jetboat : วันแรกที่ไปแข่งนี่รู้สึกยังไง
เบิร์ด เอกชัย : คือตอนแรกไม่รู้จักคำว่าตื่นเต้นเลยนะครับ
แต่พอขึ้นเวที เออ..ว่ะ คำว่าตื่นเต้นมันคือแบบนี้นี่เอง มือสั่น ลืมโน้ตเลย มันน่ากลัวมากๆ
jetboat : วันแรกที่ไปแข่งนี่ก็คือเลือกเพลงคลาสสิคทั่วไปแข่งเลยใช่หรือเปล่า
เบิร์ด เอกชัย : ใช่ๆ
jetboat : แล้วจากการแข่ขันระดับทั่วไป จนก้าวไปสู่การแข่งระดับโลกนี่ใช้เวลานานมั้ย
เบิร์ด เอกชัย : ออกต่างประเทศจริงๆ ก็ราวๆ ม.5 ม.6 ก็ใช้เวลาสัก 2 ปี นี่พิชิตประเทศไทยให้ได้แล้ว
jetboat : อะไรที่ทำให้เบิร์ดฝันใหญ่ได้ขนาดนั้น
เบิร์ด เอกชัย : ก็รู้สึกว่าดนตรีคลาสสิค มันไม่ใช่เบิร์ดเล่นคนเดียวในประเทศไทยแต่ว่าเป็นดนตรีของโลก
แต่ถ้าเราล่นดนตรีของโลก ถ้าเราจะเล่นดนตรีของโลก
การที่จะทำให้คนทั้งโลกเชื่อ คือเราต้องไปพิชิตโลกให้ได้
คือผมฝันตั้งแต่เด็กๆเลยว่าอยากได้แชมป์นี้ แต่ผมไม่รู้ผมต้องทำยังไง แล้วมันจะมาเอง
jetboat : แล้วการเดินตามฝันก้าวแรกของเบิร์ดเนี่ย คือเดินไปบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าจะต้องไประดับโลกให้ได้หรือเปล่า
เบิร์ด เอกชัย : เบิร์ดไม่ค่อยพูดกับใครอย่างนั้น เพราะเรามีความคิดอยู่ในใจ
แต่เราเน้นการกระทำมากกว่าแต่ในเบิร์ดคิดแล้ว ว่าต้องไปอัดแผ่นกับค่ายระดับโลกให้ได้
jetboat : ก็คือทำให้เค้าเห็น
เบิร์ด เอกชัย : ใช่..เน้นการปฎิบัติมากกว่า
jetboat : แล้วการสนับสนุในการไปแข่งต่างประเทศ ตอนที่ยังเป็นนักกีตาร์โนเนมอยู่นี่ทำยังไง
เบิร์ด เอกชัย :โห..ตอนแรกๆยาก ออกตังค์เองเยอะ จนคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ก็เลยต้องมหาสปอนเซอร์
ก็โชคดีตรงที่แบบว่ามีผู้ใหญ่ทางไทยเบฟช่วยสนับสนุน ทำให้ก้าวไปแข่งระดับโลกได้ง่ายขึ้น และรวดเร็วมากขึ้น
jetboat : รูปแบบการแข่งในระดับโลกนี่ต่างกับในไทยหรือเปล่า
เบิร์ด เอกชัย :วิธีการแข่งขันไม่ค่อยต่าง มาต่างกันตรงที่คุณภาพการของแข่งขัน คนไปแข่งนี่มีคุณภาพมากกว่า
เพราะเราไปอยู่ในแหล่งเขาเลย ในโซนของเขาที่ เออ..มีแต่คนเก่งๆ ทั้งนั้น ไม่มีใครที่จะแบบป้อกแป้กๆ ไม่มีอ่ะ
ทุกคนเพอร์เฟ็คหมด เพราะแข่งที่ดนตรี เทสต์ รสนิยม
jetboat : คำว่า “รสนิยม” อยากให้ขยายความหน่อย
เบิร์ด เอกชัย : ดนตรีคลาสิคมันเป็นเรื่องของการตีความหมายบทเพลง ไม่ใช่แค่เล่นตามโน้ตจบ เล่นเร็วจบ
มันต้องเข้าใจดนตรี มันต้องอินข้างในให้ถูกวิถี ไม่ใช่อินแบบว่าจะยังไงก็ได้ อย่างเช่นโน้ตสี่ตัวเนี่ย
จะเล่นยังไงไม่ให้เหมือนกัน เล่นสั้นเล่นยาวมันจะมีการดีไซน์ที่จะทำให้เทสต์มันออกมาดี รายละเอียดมันมีเยอะ
jetboat : คือทุกคนเห็นเบิร์ดตอนนี้ คือตอนที่สำเร็จแล้ว แล้วตอนที่ล้มเหลวเบิร์ดทำยังไงกับตัวเอง
เบิร์ด เอกชัย : การล้มเหลวมันเป็นสิ่งที่ เออ.. เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถก้าวต่อไป ทำให้เราแข็งแกร่งมากกว่าเดิม
คือเบิร์ดชอบความล้มเหลว เอาจริงๆแล้ว เบิร์ดไม่ได้รังเกียจมัน ไม่ได้ต่อต้านมัน เบิร์ดอยู่กับมันได้ถ้ามันเกิดขึ้น
ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น
jetboat : แล้วการล้มเหลวที่ผ่านมา เบิร์ดมองว่าตัวเราเองผิดพลาดตรงไหน ยังไง
เบิร์ด เอกชัย : บางที เอาจริงๆแล้วมันไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา คือ เช่น การแข่งขันทุกรายการเบิร์ดทำเต็มที่หมด
แต่ขึ้นอยู่กับกรรมการน่ะ ชอบไม่ชอบแค่นี้เองแค่สองคำ บางทีเบิร์ดเล่นเต็มที่อาจจะไม่ได้แชมป์ก็ได้
อย่าง GFA เบิร์ดอาจจะไม่ได้เล่นดีที่สุดแต่เบิร์ดได้แชมป์ มันทำให้เรียนรู้ว่ามันคือสัจธรรมว่ามันไม่มีอะไรแน่นอน
แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คือความคิดของเรา การคอนโทรลการเล่นของเรา ขอให้มีมาตรฐานแล้วรางวัลมันจะมาเอง
jetboat : เรารู้มาว่าว่าเบิร์ดซ้อมหนักมมาก วันละ 10 ชั่วโมง
คือเบิร์ดซ้อมเท่ากับนักกีตาร์ระดับโลก แล้วใน 10 ชั่วโมงนี่เบิร์ดซ้อมอะไรบ้าง
เบิร์ด เอกชัย : จะแยกเป็นซ้อมเทคนิคสองชั่วโมงตอนเช้า ตอนเที่ยงอีกสองชั่วโมง
ตอนบ่ายอีกสองชั่วโมง ตอนเย็นอีกสองชั่วโมง ซ้อมในหัวอีกสองชั่วโมง
ซึ่งการซ้อมในหัวนี่สำคัญมากๆ เบิร์ดจะใช้เวลาก่อนนอน อาบน้ำ กินข้าว
จะซ้อมจะนึกในหัวว่า เพลงที่เราจะเล่นจะมีทำนองยังไง ความจำเราจะแน่นขึ้น
jetboat :แสดงว่าการซ้อมในใจนี่คือ พยายามนึกทำนองในหัว พยายามนึกท่อน นึกโน้ต
เบิร์ด เอกชัย : คือเบิร์ดจะเห็นทุกนิ้วบนคอกีตาร์ทุกนิ้วเลย เวลาที่เบิร์ดแข่งเราจะมั่นใจมันจะมี
ต่อให้เราตื่นเต้นเรายังควบคุมได้ แล้วก็ต่อให้เราลืมมันยังมีความจำจากนิ้ว เวลาที่เราเล่นอาจะจะไม่ได้ติดถึงมัน
แต่พอเราเล่นแล้วเราลืมนิ้ว มันจะสั่งการทันที
jetboat :แล้วใน 10 ชั่วโมงนี่ก็คือต้องมานั่งวอร์มนิ้ว ฝึกเบสิคแล้วก็ไปซ้อมลูกเล่นอย่างอื่นมั้ย ฝึกเหมือนกับดนตรีสายอื่นหรือเปล่า
เบิร์ด เอกชัย : การซ้อมดนตรีมันก็คล้ายๆกันคือ คือไม่ใช่เฉพาะกีตาร์ เปียโนหรืออะไร ก็ซ้อมคล้ายๆกัน
การซ้อมเทคนิคแน่น ทุกคนต้องมีเทคนิคที่ดี ถ้าคุณไม่มีเทคนิคที่ดี แน่นอนสกิลมันก็ไมไ่ด้
จะเล่นเพราะยังไงก็เล่นป๊อกแป๊ก มันต้องแข็งแรงก่อนที่รากฐาน แล้วค่อนตีความหมาย
แล้วทีนี้ก็เรื่องความจำ การพรีเซนต์เทชั่นบนเวทีแล้ว
jetboat :แล้วการเป็นนักดนตรีนี่ได้แรงบันดาลใจจากใครบ่้าง
เบิร์ด เอกชัย :ถ้าในเมืองไทยก็มีพี่บัณฑิต อึ้งรังสี ที่เป็นคอนดัคเตอร์ เราเห็นแบบเขาก็คิดว่าเราทำได้
แล้วก็อาจารย์ สุกรี เจริญสุข ท่านเป็นผู้อำนวยการที่ดุริยางค์ศิลป์
ท่านไม่ใช่นักดนตรีที่เล่นบ่อยๆ แต่ท่านเป็นคนที่ปูรากฐานดนตรีคลา่สสิคในเมืองไทย
ทำให้เบิร์ดได้เรียนในสถาบันที่สุดยอดในด้านการศึกษา
jetboat : ขอดูมือขวาเบิร์ดนิดนึง เห้นว่าเป็นเล็บปิงปอง สมัยผมเรียนเรียนเนี่ยอาจารย์เค้าจะให้ไว้เล็บที่มือขวา
แล้วนิ้วปิงปองนี่เป็นเทคนิคของเบิร์ดหรือว่าทั่วโลก
เบิร์ด เอกชัย : ทั่วโลก ทั่วโลกเขาใช้กัน .. คนที่มีปัญหาเรื่องเล็บเขาก็จะใช้กัน
jetboat : การใ้ช้เล็บ กับการใช้เล็บปองปอง เสียงที่ได้มามันต่างกันหรือเปล่า
เบิร์ด เอกชัย : เอ่อ..มันก็แล้วแต่คนครับ คืออย่างเบิร์ดต้องการมุมเล็บอีกแบบนึง ซึ่งมันจะให้ผลต่าง
เล่นแล้วคล่องขึ้นอะไรเงี้ย เสียงเพราะขึ้น
jetboat :อย่างมือกีตาร์ทุกคน ต้องมีกีตาร์ตัวโปรดของตัวเอง เวลาตัดสินใจเลือกกีตาร์ตัวนึง ใช้อะไรในการเลือก
เบิร์ด เอกชัย :ก็คงใช้ความชอบส่วนตัวมากว่า เครื่องดนตรีมันเป้นเรื่องของรสนิยมส่วนตัว กีตาร์ที่ดีที่สุดในโลกบางคนอาจจะไม่ชอบก็ได้
ก็ใช้ความชอบว่าเราชอบเสียงแบบไหนเอาเป็นหลัก
jetboat : แล้วความชอบของเบิร์ดนี่อยู่ที่ตรงไหน ที่ไม้ ที่เสียง ที่ทัชชิ่ง หรือว่ายังไง
เบิร์ด เอกชัย :ต้องมาทุกอย่าง แน้่นนอนอันแรกคือเสียง เสียงต้องดี ต่อให้ทัชชิ่งดีแต่เสียงไม่ดีก็จบเพราะเราฟังกีตาร์ที่เสียง
เสียงมาอันดับแรกแล้ว ก็หลักๆ คือเสียงส่วนทัชชิ่งเรามาปรับได้ทีหลัง ขอให้โครงสร้า่งมันดีจริง เสียบต้องมาอันดับหนึ่งก่อน
jetboat : จากที่เห็นกันในข่าวคือเบิร์ดได้กีตาร์มาราคาหลายล้านมาก คือประเด็นเรื่องราคานี่ช่างมันเถอะ
คือเบิร์ดทำยังไงให้ช่างทำกีตาร์ยอมรับในตัวเบิร์ด
เบิร์ด เอกชัย : เบิร์ดทำทุกวิถีทางในตอนแรก ไปหาเค้าที่บ้าน เล่นให้เค้าฟัง เค้าก็ไม่ชอบ จนต้องแข่งชนะครับ
พอแข่งชนะรายการนี้แล้วโทรไปหาเค้า เค้ายอมรับเลย หมายถึงว่าเค้ายอมรับละว่าคุณเก่งสุดละ ถ้าผมไม่ได้รายการนี้ผมก็รอไป 20 ปี
jetboat : แสดงว่าเบิร์ดไปหาตั้งแต่ยังเป็นนักดนตรีที่แข่งทั่วไป
เบิร์ด เอกชัย : ใช่..ถูกต้อง
jetboat : แล้วเค้าได้บอกเหตุผลหรือเปล่า ว่าทำไมถึงทำกีตาร์ให้
เบิร์ด เอกชัย : เค้าไม่ได้บอกเหตุผล แต่รางวัลนี้การันตีว่า คือ เดอะ เบสท์
คือไม่ต้องมีอะไรแล้ว คือรางวัลนี้การันตีว่าคุณต้องเก่งอ่ะ คือถ้าไม่เก่งคือได้แชมป์รายการนี้ไม่ได้อ่ะ
jetboat :แล้ววินาทีที่ตัดสินใจไปแข่ง GFA ตอนนั้นคิดอะไรอยู่
เบิร์ด เอกชัย : เอาจริงๆ คือไม่ได้คิดอะไร คือ อยากลองเฉยๆอ่ะ ตอนแรก
เพราะส่วนใหญ่จากประสบการณ์จากประวัติที่ผ่านมา คนแข่ง GFA ต้องแข่งหลายครั้ง
ไม่ใช่ครั้งเดียวรายการแรกแล้วได้เลย เค้าจะลองหลายครั้งจนได้แชมป์ ผมไปแข่งก็ต้องการลองเหมือนกัน ได้มันได้เลย
jetboat : มันเป็นจังหวะใช่มั้ย
เบิร์ด เอกชัย : ใช่
jetboat :แล้วเกณฑ์การของ GFA ใช้เกณฑ์แบบไหน
เบิร์ด เอกชัย : ก็จะมีสามหลักๆ คือ แน่นอนเทคนิคสกิลต้องเคลียร์ ต้องเร็ว สองคือการตีความหมายบทเพลง
คือเล่นตามโน้ตอย่างเดียวไม่ไ่ด้ สามคือ พรีเซนท์เทชั่นดนตรี
ว่าเรามีความเป็นโปรเฟสชันแนล เล่นแล้วแบบว่ามันดูไม่ฟูล เค้าก็ไม่ให้คะแนน มันจะเหมือนการแสดงบนเวทีไรเงี้ย
jetboat : คือต้องมีทั้งในแง่การเล่น และการนำเสนอบนเวทีถูกมั้ย
เบิร์ด เอกชัย : คือดนตรีคลาสสิคมันไม่ต้องทำอะไรมากหรอก แต่เท่าที่ดูคือเค้าจะดูว่าคนนี้เป็น โปรเฟสชันแนลหรือเปล่าอยู่บนเวทีเนี่ย
jetboat :แล้วอย่างเพลงที่เบิร์ดเลือกมาแข่งนี่เลือกเพลงไหนมาแข่งตอนรอบสุดท้าย
อ่า..สามบทเพลงนี้เลย แล้วก็ชี้ไปที่ป้าย
jetboat : สามเพลงนี้เบิร์ดใช้เวลาเตรียมตัวนานแค่ไหน
เบิร์ด เอกชัย : คือสามเพลงนี้ถือเป็นสามเพลงที่เบิร์ดใช้ในการแข่งหลักๆ หลายๆ ครั้ง
jetboat : อย่างเพลงที่เบิร์ดอัดกับค่ายก็จะเป็นเพลงบรรคลาสสิค
ตอนนี้เราเห็นเบิร์ดในฐานของเพลยเยอร์ แล้วจะมีโอกาสเห็นในฐานของคอมโพสเซอร์บ้างหรือเปล่า
เบิร์ด เอกชัย : จริงๆคอมโพสเซอร์ก็มีเล่นบ้าง วันนี้ที่เล่นเพลงเปิดไปเนี่ยก็แต่งเอง (หัวเราะ) เป็นทำนองที่เบิร์ดคิดขึ้นมาเอง
เพราะอยากเอามาเล่นให้คนฟัง แต่เราไม่ได้เป็นคอมโพสเซอร์ที่จริงจังอ่ะ
คือไม่อยากใช้คำว่าตัวเองเป็นคอมโพสเซอร์ เพราะยังสนุกกับการเป็นเพลย์เยอร์อยู่ เป็นเพอร์ฟอร์เมอร์
คนที่แต่งก็ให้เขาแต่งไป ในอนาคตค่อยว่ากัน ตอนนี้ยังเอนจอยกับการเล่นอยู่
jetboat :ตอนนี้เบิร์ดมองวางการดนตรีคลาสสิคในไทยยังไงบ้าง
เบิร์ด เอกชัย : ก็รู้สึกว่าเป็นขาขึ้นครับ หลังจากมีนิทรรศการ มีคนให้ความสนใจ เชื่อว่าดนตรีคล่าสสิคจะเป็นดนตรีทีมีคนเสพมากขึ้น
jetboat : คือเราเริ่มเห็นคนดนตรีคลาสสิคในไทยที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุุน้อยอย่างเบิร์ดมากขึ้นเรื่อยๆ
แล้วพอเบิร์ดมาถึงจุดนี้เนี่ย พอมาถึงจุนี้ แล้วเบิร์ดคิดอะไรต่อ
เบิร์ด เอกชัย : ก็..ต้องทำตัวให้ดีที่สุดเพราะรางวัล GFA ที่ได้มา เค้าไม่ได้พิสูจน์แค่ตัวเราแล้ว แต่ก็ต้องพิสูจน์เรื่องผลงานต่อไป
เพราะเขาก็ให้ทัวร์เรามา เราก็ต้องทำให้ดีทีสุด
jetboat : แสดงว่าตอนนี้ก็ยังซ้อมหนักเหมือนเดิมอยู่
เบิร์ด เอกชัย : แน่นอนครับ “ทุกวัน”
jetboat : จากนักดนตรีที่ทำเองทุกอย่าง ตอนนี้กลายเป้นคนดังไปแล้ว มีวิธีรับมือกับความดังยังไง
เบิร์ด เอกชัย : ผมว่าผมไม่ดังน่ะนะ (หัวเราะ) คือคนภายนอกอาจจะมองว่าผมดัง จริงๆแล้วผมก็เป็นแค่นักกีตาร์คลาสสิคคนนึง
ที่สร้างผลงานให้คนไทยได้ชื่นชมแค่นั้นเอง ไม่ได้รู้ว่าตัวเองดังก็ยังปรกติ
jetboat :เบิร์ดถ่อมตัวมากเลยนะ (หัวเราะ)
เบิร์ด เอกชัย : ไม่หรอกครับ เรารู้ว่าว่าเราขายผลงาน เราไม่ได้เป็นดาราหรือว่าอะไรเงี้ย
เราขายสิ่งที่ทำมาจริงๆ แบบนี้น่ะครับ ก็ดีใจทีคนเขาเห็นว่าเราเป็นคนดัง อย่างที่บอกคือผมยังไม่ดัง (หัวเราะ)
jetboat : บ้านเราก็มีน้องๆที่เรียนดนตรีคลาสสิคกันจำนวนไม่น้อยอยู่ เบิร์ดจะบอกน้องๆยังไงว่า มันก็มีโอกาสไประดับโลกได้
เบิร์ด เอกชัย : อย่างแรกก็คือต้องรักน่ะครับ คือถ้าบอกว่าพูดให้โน้มน้าวให้อยากมาเรียน ไม่ค่อยอยากให้เป็นอย่างนั้น
อยากให้น้องเชื่ออย่างเดียว ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นดนตรีคลาสสิค คือทุกด้านมันก็มีโอกาสไประดับโลกได้ทั้งนั้น
แต่ขอให้ความเชื่อว่าเราทำได้ เบิร์ดเชื่อเสมอว่าเบิร์ดทำได้ แล้ววิธีการมันจะมาเอง
jetboat :ก็คือขอให้ลงมือทำ
เบิร์ด เอกชัย : ใช่ๆ
jetboat : คำถามสุดท้ายละ..คือถ้ามีพ่อแม่ที่มีลูก แล้วลูกเค้าเห็นเบิร์ดเป็นไอดอล แล้วน้องคนนั้นเค้าเดินไปบอกพ่อแม่ว่า
อยากเล่นเพลงคลาสสิคบ้าง แต่พ่อแม่สงสัยว่าเล่นไปแล้วได้อะไร เบิร์ดจะบอกกับพ่อแม่เค้ายังไง
เบิร์ด เอกชัย : จริงๆก็ให้ดูตัวเบิร์ดเป็นหลักละกัน เพราะตัวเบิร์ดเองพ่อแม่ก็ไม่ค่อยให้อยากเล่น
แต่สุดท้ายเบิร์ดก็หาหนทางของเบิรฺดได้เอง แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูว่าลูกชอบจริงหรือเปล่าประเด็นอยู่ตรงนี้
คือถ้าลูกไม่ชอบแล้วไปผลักดันเองเนี่ย เบิร์ดก็ไม่ค่อยแนะนำ
ให้ตัวเขาชอบเอง แล้วเขาจะหาหนทางของเขาเอง เราแค่คอยสนับสุนเขาในทางที่ถูกต้องแค่นี้พอ
อย่างพ่อแม่เบิร์ดเองก็ไม่ได้ทุ่มทุกอย่างให้เบิร์ด แต่เขาแค่คอยสนับสนุนห่างๆ แล้วจะคอยดูเบิร์ดไปได้เองได้ขนาดไหน
ขอบคุณ
เบิร์ด – เอกชัย เจียรกุล ที่เอื้อเฟื้อโอกาสในการสัมภาษณ์พิเศษแบบยาวมาก
แสงโสม และไทยเบฟ ที่เอื้อเฟื้อโอกาสเวลาในการสัมภาษณ์พิเศษ
ทีมงาน Hi-Like Agency ที่ติดต่อ และคอยประสานงานแบบฉับพลัน




